top of page

🚀UPเกรด เท่าทัน Data,AI

ติดตามบทเรียนใหม่ทุกวัน ที่ทดลองทำได้ทันที

ให้การทำงานดีขึ้นได้ทุกวัน!

ชวนเพื่อนมาเรียนด้วยกันนะ!

Writer's pictureUltimate Python

มาเปลี่ยน "ตารางข้อมูล" ดูยากให้เป็น Dashboard กัน! ปูพื้นฐานจาก 0 ด้วย Looker Studio

Updated: Aug 19, 2024

เลิกเสียเวลาทำ Report เพื่อดูข้อมูลทุกครั้ง เปลี่ยนตารางข้อมูลที่ดูยาก ให้กลายเป็น Dashboard ที่มองปุ๊บรู้ข้อมูลสำคัญปั๊บ พร้อมใช้วิเคราะห์หาข้อมูลที่ต้องการได้ทันที! เรียนกับบทเรียนนี้ได้จาก 0 ปูพื้นฐานครบ!


เลิกเสียเวลาทำ Report มาเปลี่ยนตารางข้อมูลเป็น Dashboard
เลิกเสียเวลาทำ Report มาเปลี่ยนตารางข้อมูลเป็น Dashboard

เนื้อหาในบทเรียนนี้


ทำเสร็จแล้วมาแชร์ผลลัพธ์ในคอมเม้นท์กันนะ!


  1. ตัวอย่าง: ระบบการติดตามงานของคนในองค์กร

  2. Dashboard เริ่มต้นที่ตารางข้อมูล

  3. Looker Studio กับหลักการออกแบบ Dashboard แบบ "คลิก-ลาก-วาง"

  4. Dashboard = กราฟที่รวมไว้เพื่อตอบคำถาม

  5. วิธีเลือกกราฟให้เหมาะสม (กราฟคนละแบบ = เก่งคนละด้าน)

  6. คำถามที่ 1: งานค้างอยู่ที่ใคร

  7. คำถามที่ 2: งานที่ค้างมีรายละเอียดอย่างไร

  8. คำถามที่ 3: มีโปรเจคไหนเสร็จแล้วบ้าง

  9. คำถามที่ 4: ยอด Budget และจำนวนงานค้างมีเท่าไร

  10. Control สำหรับ Filter ดูข้อมูลบางส่วน

  11. ปรับธีมให้พร้อมใช้ และแชร์เข้าใช้งาน


 

ตัวอย่าง: ระบบการติดตามงานของคนในองค์กร


ในตัวอย่างจะเป็นการสร้าง Dashboard สำหรับแสดงโปรเจค และงานของคนในองค์กร เพื่อดูว่างานค้างอยู่ที่ใคร และข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้อง โดย Dashboard ที่เราจะสร้างกันวันนี้ไม่เพียงจะนำข้อมูลมาแสดงอย่างเดียวแต่จะเป็น Interactive Dashboard ที่เราสามารถกดไปยังข้อมูลที่สนใจ Dashboard ก็จะทำการกรองข้อมูลของทั้งหน้า Dashboard ให้โฟกัสไปที่เฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวข้องเท่านั้น!


ถ้าคุณอยากทำไปด้วยกับบทเรียนนี้สามารถใช้ชุดข้อมูลจากในตัวอย่าง หรือทำตามด้วยชุดข้อมูลของตัวเองได้เลย!




 


Dashboard เริ่มต้นที่ตารางข้อมูล


Dashboard ที่เราสร้างขึ้นมาจะเป็นการต่อยอดนำข้อมูลที่อยู่ในตาราง Google Sheet (พอใช้จริงเราดึงจากที่อื่นได้นะแต่ Google Sheet คือไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเลย!) สำหรับตารางบันทึกงานจะบันทึกรายการข้อมูล 1 รายการต่อ 1 งาน และก็จะต้องมีรายละเอียดสำคัญบันทึกไว้เป็นคอลัมน์ข้อมูลต่างๆ ได้แก่ Project / Meeting ใช้บันทึกว่างานนี้เกิดจากโปรเจคไหน หรือประชุมเรื่องอะไร, Task Name - Note ใช้บันทึกรายละเอียดของงาน, PIC บันทึกผู้รับผิดชอบ, Status บันทึกสถานะงาน และรายละเอียดอื่นๆ เช่น วันที่เริ่มงานวันที่จบงาน หรือรายละเอียดที่ต้องการ


เมื่อได้ตารางที่บันทึกข้อมูลครบถ้วนแล้ว แค่กดใช้ Looker Studio ก็สามารถสร้าง Dashboard เริ่มใช้งานได้ทันที เราจะมาปรับต่อให้ได้หน้าตา ข้อมูลที่ครบถ้วนกัน! ง่ายสุดๆ เลย


โดยจะสังเกตว่า Looker Studio จะมีการสร้าง Dashboard ที่นำกราฟ 2 ตัวมาแปะไว้ให้ พร้อม Control ที่เป็นเหมือน Dropdown เพื่อเลือกใช้แสดงข้อมูลแค่บางส่วนได้ Dashboard ที่สร้างให้มานี้ นอกจากจะมีเริ่มต้นมาให้ การสร้างนี้ยังสร้างเป็น Interactive Dashboard ให้เสร็จเลยด้วย หมายความว่า ถ้าผมคลิกส่วนใดส่วนหนึ่งของกราฟ การเลือกคลิกนั้น จะเป็นการเลือกแสดงผลข้อมูลในส่วนนั้นๆ และแค่เฉพาะส่วนนั้นๆ ในทั้งหน้า Dashboard เลย ใช้เจาะลึกข้อมูลได้ทันที สุดยอด



 

Looker Studio กับหลักการออกแบบ Dashboard แบบ "คลิก-ลาก-วาง"


การใช้งาน Looker Studio มีหลักการง่ายๆ คือ ต้องการแก้ไขกราฟที่อยู่ใน Dashboard ข้อมูลของส่วนใด ให้คลิกส่วนนั้น แล้วทำการตั้งค่าในแถบที่เรียกว่า Properties ที่จะปรับได้ตั้งแต่ ประเภทกราฟที่แสดง การนำข้อมูลต่างๆ มาแสดงผล จนถึงความสวยงาม สีต่างๆ


หากต้องการที่จะปรับขนาด ขยับตำแหน่ง แค่คลิก ลาก เลื่อน วาง ก็จะได้การปรับหน้าตาของ Dashboard ได้แบบง่ายๆ! และด้วย Looker Studio จะมีกราฟเริ่มต้นมาให้ 2 รายการ เราสามารถทำการ Duplicate ตัวกราฟมาใช้ และทำการปรับแต่งเป็นกราฟใหม่ของเราได้เลย ทำให้เราไม่ต้องตั้งค่าใดๆ เพิ่มเติมแค่ปรับให้สวยพอ!


 

Dashboard = กราฟที่รวมไว้เพื่อตอบคำถาม


จุดเริ่มต้นของ Dashboard จริงๆ ไม่ได้เริ่มที่เครื่องมือ แต่เริ่มที่คำถามที่เกิดเป็นความต้องการการใช้งานข้อมูล ทำให้เกิดความจำเป็นในการบันทึกข้อมูลดังกล่าว และสุดท้ายเกิดเป็นความจำเป็นในการนำข้อมูลดังกล่าวมาแสดงผล และนำมาทำ Dashboard เพื่อติดตามผล


จุดเริ่มต้นของการ Design ของเราจริงๆ จะเริ่มจาก "การตั้งคำถาม" ว่า Dashboard นี้ เราอยากตอบคำถามอะไรบ้าง อาจสร้างเป็นรายการคำถามสำคัญสัก 3-5 คำถามเพื่อเริ่มต้นออกแบบ Dashboard ที่ต้องการ


เช่น Dashboard สำหรับการจัดการงาน ติดตามงานอาจสร้างขึ้นมาเพื่อตอบคำถามเหล่านี้

  1. งานค้างอยู่ที่ใคร

  2. งานที่ค้างมีรายละเอียดอย่างไร

  3. มีโปรเจคไหนเสร็จแล้วบ้าง

  4. ยอด Budget และ จำนวนงานค้างมีเท่าไร


 

วิธีเลือกกราฟให้เหมาะสม (กราฟคนละแบบ = เก่งคนละด้าน)


หลังจากที่เราตั้งโจทย์แล้วเราจะทำการเลือกกราฟสร้างขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์นั้นๆ คิดง่ายๆ 1 คำถามเริ่มจาก 1 กราฟก่อนได้เลย แต่ก่อนที่เราจะออกแบบกราฟได้ ทริคการใช้กราฟเล็กน้อย จริงๆ กราฟแต่ละแบบเค้าจะเก่งคนละด้านกัน


  • ตระกูลกราฟแท่ง เก่งการเปรียบเทียบจำนวน แยกกลุ่มแล้วเทียบกันว่าอันไหนเยอะกว่า

  • ตระกูลกราฟเส้น เก่งการดูความต่อเนื่อง การเติบโต ยอดสะสม

  • Scorecard เป็นตัวเลขตัวใหญ่ ไม่ใช่กราฟ แต่ใช้แสดงร่วมกัน เพื่อแสดงตัวเลขที่สำคัญ

  • Table นำข้อมูลมาแสดงเป็นตาราง เน้นการแสดงรายละเอียด จะเก่งมากถ้าใช้แสดงข้อความ


หลังจากเราพอทราบพื้นฐานของกราฟแต่ละกลุ่มแล้ว เราจะนำแต่ละคำถาม มาเลือกกราฟ และสร้างเป็นกราฟที่ไปแปะอยู่บน Dashboard


 

คำถามที่ 1: งานค้างอยู่ที่ใคร


การตอบว่างานค้างอยู่ที่ใครผมจะใช้กราฟแท่ง เพื่อเปรียบเทียบกันให้เห็นความแตกต่าง โดยกราฟแท่งจะต้องตั้งค่า 3 อย่างหลักๆ


1) จะแยกแท่งกราฟด้วยข้อมูลอะไร หรือจะจับกลุ่มข้อมูลอย่างไร >> เราจะแยกด้วยสถานะของงาน

2) ความสูงของกราฟจะใช้อะไรแสดง >> เราจะใช้จำนวนของรายการงาน


จะสังเกตว่าหากเป็นกราฟแท่งธรรมดาจะไม่สามารถแสดงข้อมูลตอบคำถาม "งานค้างที่ใคร" ได้ เนื่องจากงานค้างที่ใคร เป็นการใช้ข้อมูล 2 อย่างมาซ้อนกัน จึงต้องเลือกเป็น Stacked bar chart ที่มีการแบ่งแท่งกราฟออกเป็นส่วนย่อยด้วย


3) ส่วนย่อยของกราฟ >> เราจะใช้ผู้รับผิดชอบของงาน


ในการทำงานกับ Dashboard ของ Looker Studio ง่ายมากๆ เมื่อเราตั้งกราฟสำหรับคำถามเราได้แล้ว ให้คลิกกราฟที่มีอยู่แล้วปรับแก้เป็นกราฟที่ต้องการได้เลย ไปที่แถบของ Properties เพื่อเลือกประเภทกราฟ จากนั้นเลือก SET-UP เพื่อตั้งค่ากราฟ ง่ายๆ


การตั้งค่า Stacked Bar Chart จะเลือกที่แถบ Properties และทำการเลือกองค์ประกอบของ Stacked Bar Chart ดังนี้


1) จะแยกแท่งกราฟด้วยข้อมูลอะไร หรือจะจับกลุ่มข้อมูลอย่างไร >> ตั้งที่ Dimension

2) ความสูงของกราฟจะใช้อะไรแสดง >> ตั้งที่ Metric >> โดยจะมีปุ่มกำกับด้านหน้าที่เลือกการคำนวณได้ CT - นับ, SUM - รวม

3) ส่วนย่อยของกราฟ >> ตั้งที่ Breakdown Dimension


เมื่อตัวกราฟเสร็จสามารถตั้งชื่อกราฟได้ที่ส่วน STYLE เท่านี้เราก็ได้กราฟแรกมาเรียบร้อย



 

คำถามที่ 2: งานที่ค้างมีรายละเอียดอย่างไร


การแสดงรายละเอียดที่นำมาจากตารางข้อมูลจะใช้ Table สำหรับการแสดงผลโดย Table จะมีการตั้ง Properties ที่น่าสนใจอยู่ 2 อย่าง

  1. Dimension สำหรับการเลือกข้อมูลจากตารางมาแสดงใน Table

  2. Metric สำหรับการคำนวณค่าต่างๆ มาแสดงใน Table


ในการนำรายละเอียดจากตารางข้อมูลมาใส่ Table กรณีของวันนี้เราจะใส่แค่ Dimension ใส่คอลัมน์ข้อมูลให้ครบ เราก็จะได้ Table แสดงรายละเอียดของงานเรียบร้อย



 

คำถามที่ 3: มีโปรเจคไหนเสร็จแล้วบ้าง


ในส่วนนี้เช่นเดียวกันกับกราฟสำหรับดูว่างานค้างที่ใคร เราจะใช้ Stacked Bar Chart ที่แยกข้อมูลตามโปรเจค และแยกย่อยตามสถานะ



 

คำถามที่ 4: ยอด Budget และจำนวนงานค้างมีเท่าไร


สำหรับการแสดงจำนวนที่เป็นตัวเลขสามารถใช้ Scorecard ที่ตั้งแค่ Metric และวิธีการคำนวณเราก็จะได้ข้อมูลที่เป็นตัวเลขสำหรับการคำนวณข้อมูลนั้นๆ มา



 

Control สำหรับ Filter ดูข้อมูลบางส่วน


เมื่อเราได้ Chart สำหรับตอบคำถามครบแล้ว เราจะมาทำ Control หรือ Filter ส่วนนี้จะเป็นลักษณะของ Dropdown ที่ใช้เพื่อกรองดูข้อมูลเพิ่มขึ้นไปอีก โดยการตั้ง Control เราจะกลับไปที่คำถามที่เราต้องการตอบ เช่น หากมีคำถามในแนว งานของใคร, โปรเจคไหน เราก็จะนำข้อมูลของ PIC มากรองดูข้อมูลของแต่ละคน และเพิ่มข้อมูล Project เป็น Control ด้วยเพื่อใช้เลือกดูข้อมูลแต่ละโปรเจค



 

ปรับธีมให้พร้อมใช้ และแชร์เข้าใช้งาน


เมื่อได้ Chart สำหรับตอบคำถาม และ Control สำหรับการแสดงข้อมูลแค่บางส่วนแล้ว เราจะมาปรับธีม สีตัวหนังสือ ให้ดูเรียบร้อยในไม่กี่คลิก และสามารถกดแชร์ เพิ่ม User ที่ต้องการให้เข้ามาดู และใช้ url เปิดดู Dashboard จากมือถือ จาก PC ใช้วิเคราะห์ดูข้อมูลที่ต้องการได้เลย!



 

ช่วยเราสร้างบทความที่ดีขึ้น


ผ่านการให้ข้อมูล และฟีดแบคเกี่ยวกับบทความนี้! และคอมเม้นท์บอกเราด้วยนะ ว่าชอบอะไร ไม่ชอบอะไรด้านล่าง!



ให้คะแนนบทเรียนเท่าไร?

  • 5 - คะแนนเต็ม พร้อมนำไปใช้จริง

  • 4 - ดีมาก ได้ไอเดียพร้อมลุย

  • 3 - โอเค พอเห็นภาพ

  • 2 - ไม่โอเค ขาดบางอย่าง


ผู้สอนของคุณในบทเรียนนี้


สวัสดีครับผมซิปป้า แอดมินของเพจ Ultimate Python ครับ นอกจาก Content ดีๆ แบบนี้ ผมทำธุรกิจทางด้านการจัดเทรนนิ่งให้กับองค์กร, เป็นที่ปรึกษาสำหรับบริษัท SME ที่ต้องการสร้างระบบข้อมูล และการทำ Automation หากมีท่านใดที่มีเพื่อน หรือกำลังต้องการบริการเหล่านี้ สามารถแนะนำผมได้เลยนะครับ



นอกจากนี้ผมยังมีแพ็คเก็จคอร์สเรียนวิดีโอ CDB | Citizen Developer Bootcamp สำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเองที่ผมจะนำความรู้ทั้งหมดที่ทุกท่านสนใจ ที่ออกเป็นคอนเทนต์ต่างๆ สร้างเป็นคอร์สเรียนให้ทุกท่านได้เรียน ได้ลองทำ และมีผลงานจริง ที่สมัครครั้งเดียวรับอัพเทคอร์สได้ตลอดอายุคอร์ส


หากต้องการติดต่อผม เพื่อจัดอบรม ปรึกษาการทำโปรเจคขององค์กร

สามารถโทร 09-626262-40 (ติดต่อคุณแพรว) ได้เลยนะครับ




652 views

Comments


bottom of page